1. มาตรฐานคุณวุฒิความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

2. พันธกิจของแผนงานฝึกอบรม
2.1 ผลิตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ โดยมีความรู้และทักษะทางด้านสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาอย่างครอบคลุมและลึกซึ้งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย

2.2 พัฒนาให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะในการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ที่ดี มีความสามารถในการทำงานแบบมืออาชีพ ทำงานเป็นทีม ปฏิบัติงานร่วมกับสหวิชาชีพได้เป็นอย่างดีและสามารถปรับตัวตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม

2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ดำรงไว้ซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ มีความรับผิดชอบ มีทัศนคติ เจตคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงานและองค์กร เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมในการบริการทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

2.4 ผลิตบุคลากรทางสาธารณสุขเพื่อการแก้ไขปัญหาและการส่งเสริมสุขภาพ โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของความปลอดภัยของผู้ป่วยและดูแลแบบองค์รวม เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของของสังคมและระบบบริการสุขภาพประเทศไทย

2.5 ส่งเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศ การบริหารจัดการสาธารณสุข และกระบวนการคุณภาพโดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและคุ้มทุน

2.6 พัฒนาให้ผู้ที่ฝึกอบรมมีเจตนารมณ์และเตรียมพร้อมในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

2.7 พัฒนาความสามารถด้านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานการยอมรับในระดับนานาชาติ

2.8 ยกระดับมาตรฐานการฝึกอบรมให้ทัดเทียมและเข้าสู่ระดับนานาชาติ

3. ผลสัมฤทธิ์ของแผนงานฝึกอบรม
แพทย์ประจำบ้านที่จบการฝึกอบรมในหลักสูตรนี้ต้องมีคุณสมบัติ ความรู้และทักษะขั้นต่ำตามผลสัมฤทธิ์/ระดับความสามารถระหว่างการฝึกอบรมที่พึงประสงค์ (Intended learning outcome/milestones) ที่ครอบคลุมประเด็น 6 ด้าน ดังนี้
3.1 การดูแลสุขภาพสตรี (Women’s health)
ก. มีทักษะในการดูแลด้านนรีเวชวิทยาตั้งแต่ระยะก่อนวัยเจริญพันธุ์ วัยเจริญพันธุ์และวัยหมดระดู
ข. มีทักษะในการดูแลด้านสูติศาสตร์ตั้งแต่ระยะก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอดและหลังคลอด

3.2 ความรู้และทักษะหัตถการทางเวชกรรม (Medical 3.2 knowledge and procedural skills)
ก. เข้าใจวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของร่างกายและจิตใจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสตรี
ข. มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และเชี่ยวชาญในสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

3.3 ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (Interpersonal and communication skills)
ก. นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
ข. ถ่ายทอดความรู้และทักษะ ให้แพทย์นักศึกษาแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์
ค. สื่อสารให้ข้อมูลแก่ญาติ และผู้ป่วย ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยเคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ง. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ
จ. เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์และบุคคลากรอื่น โดยเฉพาะทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

3.4 การเรียนรู้และพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (Practice-based learning and improvement)
ก. มีการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Practice-based) ความคิดสร้างสรรค์ตามหลักวิทยาศาสตร์ในการสร้างความรู้ใหม่และพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
ข. ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้
ค. วิพากษ์บทความและงานวิจัยทางการแพทย์
ง. เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ

3.5 ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยม (Professionalism)
ก. มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพ และชุมชน
ข. มีทักษะด้านที่ไม่ใช่เทคนิค (Non-technical skills)
ค. มีความสนใจใฝ่รู้และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (Continuous professional development)
ง. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
จ. คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

3.6 การทำเวชปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (System-based practice)
ก. มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศ
ข. มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยสามารถอธิบายกระบวนการคุณภาพและความปลอดภัยทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
ค. ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (Cost consciousness medicine) และสามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ และสามารถจัดการสถานการณ์วิกฤตทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาได้

4. ผลการประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประจำปีการศึกษา 2565